วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีการเดินสายไฟเบื้องต้น


การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน
การเดินสายแบ่งออกได้  2  วิธี  ดังนี้
1.  การเดินสายแบบเปิด  หมายถึง  การเดินสายไฟโดยใช้ตุ้มพุกประกบเข็มขัดรัดสาย
ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ  โดยทั่วไปจะยึดสายไฟฟ้าเข้ากับฝาหรือผนังอาคารด้วยเข็มขัดรัดสายทุกระยะ  10 12  เซนติเมตร  สายที่ใช้เป็นสายหุ้มยางหรือหุ้มโพลีไวนีลคลอไรด์  (พีวีซี)  มีทั้งสายคู่                            และสายเดี่ยว  การเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสายใช้เฉพาะการเดินสายภายในตัวอาคาร  ส่วนภายนอกอาคารจะถูกแดดและฝน  ไม่ควรใช้การเดินสายวิธีนี้
สายไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินสายเป็นชนิด  VAF  พีวีซี  คู่  เส้นลวดตัวนำทำด้วยทองแดง          มีฉนวนหุ้ม  พีวีซี  2  ชั้นเดินเกาะไปตามผนัง  มีอายุการใช้งานประมาณ  10 15  ปี  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ  สายไฟด้วย  ใช้เดินสายสำหรับงานติดตั้งได้ทั้งพื้นแห้งและเปียก  ทนอุณหภูมิ  700  องศาเซนเซียส  ใช้กับแรงดัน  300  โวลท์

บ้านทุกหลังจะมีห้องลักษณะสี่เหลี่ยม  ดังนั้น  การเดินสายไฟจำเป็นต้องหักมุมตามมุมของบ้าน  ลักษณะของการหักมุมของสายไฟ  เรียกว่า  โค้งมุมฉาก  คือเราไม่สามารถหักมุมสายไฟเป็นมุม  90  องศาได้  เพราะจะทำให้ลวดทองแดงของสายไฟหักได้  เพราะฉะนั้นต้องโค้งสายประมาณ  2.5  เซนติเมตร  ถ้าเดินสายไฟหลายเส้นเข็มขัดรัดสายที่ติดกับโค้งที่รัดสายเส้นล่างสุด                จะห่างโค้งประมาณ  2.5  เซนติเมตร  จำเป็นต้องเดินสายจากบนลงล่างและซ้ายไปขวา  เมื่อสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเดินสายจากล่างขึ้นบน  จะต้องจับสายไปนั้นตลอดเวลา  แต่ถ้าเดินสายไฟจากบนลงล่างจะไม่ต้องจับสาย  จะห้อยปลายลงมา  และรัดสายได้ง่าย  ทำงานได้รวดเร็วขึ้น


การเดินสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพี.วี.ซี.  ด้วยเข็มขัดรัดสาย
ขั้นตอนการเดินสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพี.วี.ซี.  ด้วยเข็มขัดรัดสาย  มีขั้นตอนการปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้
1.  อ่านแบบ  และศึกษาแนวทางการเดินสายไฟฟ้า
2.  เลือก  และเตรียมเข็มขัดรัดสายไฟฟ้า
3.  ทำเส้นแนวเดินสายไฟฟ้า
4.  คลี่สายไฟฟ้า
5.  รีดสายไฟฟ้า
6.  ยึดเข็มขัดรัดสายไฟฟ้าด้วยตะปู
7.  เดินสายไฟฟ้า

1.  อ่านแบบ  และศึกษาแนวทางการเดินสายไฟฟ้า  ศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียด  ของแบบแปลนการเดินสายไฟฟ้า เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการเดินสายไฟฟ้า                     การคำนวณขนาด  และจำนวนสายไฟฟ้า  ที่จะใช้  การเลือกเบอร์เข็มขัดรัดสายและวางแผน                    การเดินสายไฟฟ้าได้  อย่างมี ประสิทธิภาพ
แบบวงจรที่แสดงการเดินสายไฟฟ้าใช้กับงานติดตั้ง  โดยจะแสดงด้วยสาย                     เพียงเส้นเดียวและกํากับไว้ด้วย สัญลักษณ์ และตัวเลข เช่น
หมายถึง  เดินสายไฟฟ้า  VAF    1  สาย
หมายถึง  เดินสายไฟฟ้า  VAF    2  สาย
หมายถึง  เดินสายไฟฟ้า  VAF    4  สาย

2.  เลือก  และเตรียมเข็มขัดรัดสายไฟฟ้า  การเลือกขนาดเบอร์เข็มขัดรัดสายไฟฟ้า              เลือกโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบตามตาราง

เข็มขัดรัดสายเบอร์
ใช้กับสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน พี.วี.ซี.                พื้นที่หน้าตัดเป็นตารางมิลลิเมตร
จำนวนสายไฟฟ้า
0
1.0
1
1
1.5 หรือ 2.5
1

เข็มขัดรัดสายเบอร์
ใช้กับสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน พี.วี.ซี.                พื้นที่หน้าตัดเป็นตารางมิลลิเมตร
จำนวนสายไฟฟ้า
2
1.0
1.0 หรือ 1.5
2
1,1
3
2.5
2
4
2.5
1.5 และ 2.5
3
1,2
5,6
ใช้รัดสายไฟฟ้าหลายๆ เส้นที่เดินเรียงกันตามความเหมาะสมกับขนาดของสายไฟฟ้านั้นๆ

การเดินสายไฟฟ้าไม่เกิน  3  เส้นให้ใช้เข็มขัดรัดตัวเดียว หากมีการเดินสายไฟฟ้าตั้งแต่  4  เส้นขึ้นไปให้เพิ่มเข็มขัดขึ้นอีก  1  ตัว การพับเข็มขัดมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.  นำตะปูใส่เข้าไปในรูของเข็มขัดรัดสายโดยให้ด้านที่มีคมของเข็มขัดอยู่ด้านใน               เพื่อ  เวลารัดสายไฟฟ้าจะทำให้จับยึดสายไฟฟ้าได้แน่น


การใส่ตะปูเข้าไปในรูของเข็มขัดรัดสาย

2.  พับด้านหัวของเข็มขัดรัดสาย ปิดตะปู


พับด้านหัวของเข็มขัดรัดสาย ปิดตะปู

3.  ทำเส้นแนวเดินสายไฟฟ้า
ตีเส้นด้วยบักเต้าทำเส้นแนวเดินสายไฟฟ้าตามตำแหน่งที่จะเดินสายไฟฟ้า
การตีเส้น  ทำเส้นแนวเดินสายไฟฟ้า  เพื่อใช้เป็นแนวการตอกตะปูเข็มขัดรัดสายไฟฟ้าทำให้การเดินสายไฟฟ้า  ตรง  และสวยงาม
3.1  การตีเส้นในแนวดิ่ง โดยทั่วไปหากระยะการตีเส้นทำเส้นแนวเดินสายไฟฟ้า             มีความยาว  2  เมตร  ขึ้นไปให้ใช้บักเต้าตีเส้น และหากเป็นระยะสั้นๆ  ใช้ฟุตเหล็กหรือระดับน้ำก็ได้ การตีเส้นในแนวดิ่ง ด้วยบักเต้ามี ดังนี้

ใช้ระดับน้ำตีเส้นในแนวดิ่ง

กำหนดตำแหน่ง ที่ต้องการเดินสายไฟฟ้าในแนวดิ่งตอกตะปูที่ด้านบน                                   เพื่อ  ใช้เป็นตะขอเกี่ยวให้กับปลายเชือกของบักเต้า
ใช้บักเต้าตีเส้น
3.2  การตีเส้นในแนวนอน  การเดินสายไฟฟ้าระยะสั้นๆ  นิยมใช้ฟุตเหล็ก                หรือระดับน้ำ  แต่ถ้าระยะยาว  ควรใช้บักเต้าตีเส้นทำเส้นแนวในการเดินสายไฟฟ้า  การตีเส้น           แนวนอนด้วยระดับน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1)  วางระดับน้ำลงบนแผงฝึก และปรับให้ลูกน้ำของระดับน้ำอยู่กึ่งกลางหลอดน้ำ
2)  ใช้ดินสอขีดเส้นตามความยาวที่ต้องการ


ใช้ระดับน้ำตีเส้นในแนวนอน

4.  คลี่สายไฟฟ้า

4.1  สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่เหมาะสำหรับการเดินสายแบบเกาะผนัง โดยทั่วไป  จะใช้สายหุ้มฉนวน  PVC  ชนิดสายคู่  (2 แกน)  แบบสายแบนที่เรียกว่า "สายแข็ง"
4.2  การคลี่สายออกจากม้วน ควรใช้วิธีคลายม้วนจากปลายด้านนอกออก            ทีละรอบ  โดยการสอดแขนทั้งสองข้างเข้าไปในม้วนสาย แล้ววางปลายสายลงกับพื้นหมุนคลาย           สายออกจากขด พร้อมกับเดินถอยหลัง ไปเรื่อยๆ  จนได้ความยาวตามต้องการ ไม่ควรดึงสาย                  ออกจากขดโดยตรงเพราะสายจะบิดงอทำให้การรีดสายทำได้ยาก


การคลี่สายออกจากม้วน

4.3  ภายในสาย  PVC  จะมีลวดตัวนำ  2  เส้นเพื่อให้ง่ายต่อการต่อวงจร  และ                   การตรวจซ่อม สายที่จะใช้ทำเป็น สายมีไฟ  (Hot line)  ในทุกๆ  ส่วนของวงจรควรเป็นสีดำ                        เหมือนกันหมด และทำป้ายบอกให้ชัดเจน

สายมีไฟ

4.4  จะต้องรู้ขนาดของสายไฟฟ้าและจำนวนสายไฟฟ้าที่จะเดินไปยังจุดต่างๆ  และจะต้องเลือกเข็มขัดรัดสาย ให้พอดีกับสายทั้งเส้นเดียวและหลายเส้น
4.5  ปลายสายไฟฟ้าที่จะเดินเข้าตลับแยกสายหรือแป้นไม้รองอุปกรณ์ต่างๆ     ควรปอกไว้ล่วงหน้าก่อนเดินสาย และควรให้ฉนวนชั้นนอกเหลือเลยเข้าไปในตลับแยกสายประมาณ  1  เซนติเมตร  เหลือปลายสายที่จะเข้าอุปกรณ์ไว้ประมาณ  10-15  เซนติเมตร

5.  รีดสายไฟฟ้า
การรีดสายไฟฟ้า  ก่อนที่จะใช้เข็มขัดรัดสายไฟฟ้า ควรใช้ผ้านุ่มรีดสายให้ตรงทุกเส้น  ซึ่งมี วิธีการปฏิบัติดังนี้
1)  กดปลายสายไฟฟ้าให้แน่นกับแผงฝึก
2)  ใช้มืออีกข้างหนึ่งนำผ้ามารีดสายจากด้านบนลงล่างจนสุดแขน                             ถ้าเป็นสายไฟฟ้าเก่า ผ่านการใช้งานมาแล้ว ควรรีดช้าหลายๆ  ครั้ง เริ่มตรงหรือบิด-งอน้อยที่สุด


การรีดสายไฟฟ้า

6.  ยึดเข็มขัดรัดสายไฟฟ้าด้วยตะปู
6.1  ระยะของเข็มขัดรัดสาย
1)  เข็มขัดรัดสายต้องไม่ทำให้เปลือกนอกของสายชำรุด
2)  ระยะของเข็มขัดรัดสายแต่ละตัวต้องเหมาะสม ถ้าเป็นไม้ควรห่างประมาณ        10 - 12  เซนติเมตร ถ้าเป็นปูนควรห่าง ประมาณ  8 - 10  เซนติเมตร  อาจใช้การประมาณระยะห่างด้วยค้อนเดินสายก็ได้


ระยะของเข็มขัดรัดสาย

3)  ระยะของเข็มขัดรัดสายก่อนถึงอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าควรห่างประมาณ  2.5 - 3  เซนติเมตร
4)  ระยะของเข็มขัดรัดสายช่วงหักฉาก จากมุมฉากถึงเข็มขัดรัดสายควรห่างประมาณ  2.5 - 3  เซนติเมตร


ระยะของเข็มขัดรัดสายช่วงหักฉาก

6.2  การงอสายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า  5  เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง                          ของเปลือกนอกเพื่อป้องกัน เปลือกนอกของสายชำรุด
ระยะห่างของเข็มขัดเมื่อดัดโค้งสายไฟฟ้า เนื่องจากการเดินสายไฟฟ้าจะมุ่งเน้น           ในเรื่อง ของความสวยงาม และความมั่นคงแข็งแรงในการจับยึด ดังนั้น เมื่อเดินสายไฟฟ้าตั้งแต่  2  เส้นขึ้นไป จะต้องดัดโค้งสายให้เรียงชิดติดกัน รัศมีการดัดโค้งควรกะระยะให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น สายขนาด  2 × 2.5  มิลลิติเมตร  ควรใช้รัศมีการดัดโค้ง ไม่ต่ำกว่า  3  เซนติเมตร
6.3  ตอกตะปูเข็มขัดรัดสายไฟ  การตอกตะปูเข็มขัดรัดสายไฟ จะต้องมีระยะห่าง                  ที่เท่ากันเพื่อ ความแข็งแรง และสวยงาม ระยะห่างระหว่างเข็มขัดรัดสายประมาณ  10 - 12  เซนติเมตรอย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเพื่อความรวดเร็วจะวัดระยะห่างด้วยความยาวประมาณ  1  หัวค้อน
วิธีการตอกตะปูเข็มขัดรัดสายไฟ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1.  นำเข็มขัดที่ได้เตรียมไว้มาตอกตามแนวเส้นที่ขีดไว้โดยตอกเบาๆ                  เพื่อให้  แค่ปลายของ ตะปูยึดติดกับผนัง


วิธีการตอกตะปู

2.  กางเข็มขัดที่พับไว้ออกและใช้มือจับเข็มขัดให้ตรงตั้งฉากกับเส้นที่ขีดไว้ ใช้ค้อนตอก หัวตะปูให้เรียบกับพื้น ต้องหันหัวเข็มขัดรัดสายไฟไปในทิศทางเดียวกัน และ                      หันออกจากผนัง  เพื่อง่ายต่อการรัดเข็มขัด
วิธีการตอกตะปู

กางเข็มขัดที่พับไว้ออก
6.4  ก่อนจะรัดสายไฟฟ้าต้องรีดสายให้ตรงไม่ให้บิดหรืองอ  โดยใช้ผ้าชุบน้ำ                แล้วบีบให้หมาดรีดประมาณ  2 - 3  ครั้งยาวประมาณ  50 - 70  เซนติเมตร  ให้รีดสายไฟเส้น               ที่ชิดฝาก่อนเสมอ แล้วจัดสายให้เรียงชิดติดกัน

7.  เดินสายไฟฟ้า
การเดินสายไฟฟ้า  มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
7.1  การเดินสายไฟฟ้าในแนวดิ่ง  เมื่อจับสายไฟฟ้าแนบชิดกับผนังสายจะห้อยลงสู่พื้น  ด้านล่างตามแรงดึงดูดของโลก  ดังนั้น  จึงต้องเริ่มรัดสายจากด้านบนลงสู่ด้านล่างดังนี้
1)  ใช้ผ้ารีดสายให้ตรง  ระยะประมาณ  20-50  ซม.  จัดสายให้เรียงชิดกัน                   กรณี เดินสายตั้งแต่  3 เส้นขึ้นไปให้สายเส้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ด้านนอก
2)  ใช้มือจับปลายสายด้านบนไว้  และกดสายไว้ให้แนบกับผนัง                            ส่วนมืออีกข้าง  ใช้รัดเข็มขัดรัดสายไฟทีละตัวจากบนลงล่างดึงสายไฟให้ตึง กรณีเดินสายตั้งแต่  3  เส้นขึ้นไปสายไฟ จะต้องแนบชิดกัน รัดสายไฟเกือบสุดระยะที่รีดสายไฟไว้
รีดสายไฟฟ้า
3)  ปฏิบัติตามข้อ  1-2  เลื่อนลงมาจากบนลงล่าง จนเสร็จสิ้นระยะที่กําหนด
4)  ใช้ค้อนเคาะเบาๆ  เพื่อให้รอยพับสนิทกับสายไฟฟ้าและแผงฝึก
7.2  การเดินสายแนวนอน การเดินสายไฟฟ้าในแนวนอน จะใช้วิธีการคล้ายกับ            การเดินสายไฟฟ้าในแนวดิ่ง จะเดินจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ตามความถนัด                        มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1)  ใช้ตะปูตอกเข้ากับผนัง  ห่างจากจุดที่กำลังรัดสายประมาณ  50 - 100  เซนติเมตร  แล้วใช้สายไฟฟ้าพาดไว้กับตะปูเพื่อป้องกันตะปูตอกเข็มขัดรัดสายหลุดออกจากผนัง



2)  รีดสายไฟฟ้าให้ตรงและรัดสายไฟ  โดยวางปลายสายไฟฟ้าไว้บนตะปู     ที่ตอกไว้
3)  รีดสายและรัดสายไฟจนเสร็จสิ้นตามระยะเป้าหมาย
4)  ใช้ค้อนเคาะเบาๆ  เพื่อให้รอยพับเรียบสนิทกับสายไฟฟ้า
7.3  ควรจัดตำแหน่งของหัวเข็มขัดรัดสายเมื่อรัดสายแล้วให้อยู่ตรงกลางของสายถึงจะดูสวยงาม


7.4  ในกรณีที่เดินสายไม่ตรงหรือคดงอ บิดไปมา ไม่ควรใช้ค้อนเดินสายแต่งสายโดยตรง ให้ใช้ไม้ ที่มีด้านข้างตรงวางทาบข้างๆ  สายที่เดินไว้ จากนั้นจึงใช้ค้อนตอกลงไปที่ด้านข้างของไม้อีกที
7.5  เมื่อเดินสายเสร็จแล้ว ก่อนปล่อยไฟฟ้าเข้าในวงจรควรเช็ควงจรด้วย                    เครื่องมือวัด  (โอห์มมิเตอร์)  เพื่อดูว่ามีการลัดวงจรหรือเปล่า
2.  การเดินสายแบบปิด  หมายถึง  การเดินสายที่ซ่อนสายมิดชิดไม่เห็นสาย  ใช้สำหรับ
เดินสายไฟฟ้าบนเพดานสำหรับอาคารไม้หรือตึก  และเดินในท่อโลหะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  การเดินสายไฟโดยใช้วิธีร้อยสายไฟใส่ในท่อฝังในอาคาร  เพื่อความสะดวกและความสวยงาม                     ของสถานที่  ท่อที่นำมาใช้มีหลายชนิด  ได้แก่  ท่อโลหะหนา  (Rigid  Steel  Conduit)  ท่อโลหะบาง  (Electrical  Metallic  Tube)  และท่อโลหะอ่อน  (Flexible  Metal  Conduit)
การเดินสายไฟฟ้าในท่อทุกหัวต่อต้องใช้กล่องต่อสาย  สวิทช์  หรือเต้าเสียบ                                             ต้องใช้แบบมีฝาปิดอย่างดีที่สุด  เพื่อป้องกันประกายไฟฟ้า


ภาพเดินสายไฟฟ้าบนเพดานอาคาร

สรุปได้ว่า  การเดินสายแบ่งออกได้  2  วิธี  คือ  การเดินสายแบบเปิด  เป็นการเดินสายไฟโดยใช้ตุ้มพุกประกบเข็มขัดรัดสายไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ  โดยยึดสายไฟฟ้าเข้ากับฝาหรือผนังอาคาร  ส่วนการเดินสายแบบปิด  เป็นการเดินสายที่ซ่อนสายมิดชิดไม่เห็นสาย  ใช้สำหรับเดินสายไฟฟ้า    บนเพดานอาคารไม้หรือตึก  และเดินในท่อโลหะในโรงงานอุตสาหกรรม  

1 ความคิดเห็น: